การตรวจสอบภายใน หมายถึง กิจกรรมการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและเป็นอิสระ ซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์กรให้ดีขึ้น การตรวจสอบภายในจะช่วยให้องค์กรบรรลุถึงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ
1. งานด้านการตรวจสอบ
ขอบเขตงาน
เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน พ.ศ. 2546 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2551 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยทักษิณ ว่าด้วยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน พ.ศ. 2552 ซึ่งกำหนดขอบเขตงานให้ครอบคลุมถึงการตรวจสอบ การวิเคราะห์ รวมทั้งการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในของมหาวิทยาลัย ตลอดจนเสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่ฝ่ายบริหาร หน่วยรับตรวจและผู้เกี่ยวข้อง
ความรับผิดชอบ
ฝ่ายตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งฝ่ายตรวจสอบภายใน โดยให้รายงานผลการตรวจสอบและการให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ประเมินผล ข้อเสนอแนะคำปรึกษาแก่หน่วยรับตรวจ ตามแนวทางที่มาตรฐานการตรวจสอบภายในกำหนดไว้ ดังนี้
1. ข้อมูลเกี่ยวกับความเพียงพอและประเมินประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน และระบบการบริหารความเสี่ยง
2. การพิจารณาลำดับกิจกรรมที่จะตรวจสอบและเวลาดำเนินการให้พัิจารณาจากความเสี่ยงที่มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 การขาดข้อมูลการเงินและการปฏิบัติงานที่ดี
2.2 การละเลยการปฏิบัติตามนโยบาย แผนงาน วิธีการปฏิบัติงานและข้อกำหนดทางกฎหมายทรัพย์สินสูญหายหรือเสียหาย
2.4 การไม่ประหยัดหรือไม่มีประสิทธิภาพของงาน
2.5 การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้
3. ประสานงานกับหน่วยรับตรวจเพื่อให้ผู้บริหารของหน่วยรับตรวจมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและ ข้อเสนอแนะ ในอันที่จะทำให้ผลการตรวจสอบมีประโยชน์ สามารถนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. ประสานงานกับสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลงานร่วมที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อมหาวิทยาลัย
5. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความชำนาญในด้านวิชาชีพการตรวจสอบภายในอย่างเพียงพอ
6. ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย เพื่อรับนโยบายและสร้างสัมพันธ์ที่ดีในการปฏิบัติงานร่วมกัน
2. งานบริการให้ความเชื่อมั่น
บริการให้ความเชื่อมั่นเป็นการตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ อย่างเที่ยงธรรม เพื่อนำมาประเมินผลอย่างเป็นอิสระ ในกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลขององค์กร เช่น การให้ความเชื่อมั่นทางด้านการเงิน การปฏิบัติงาน การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ความมั่นคงปลอดภัยของระบบต่าง ๆ
3. งานบริการให้คำปรึกษา
บริการให้คำปรึกษา (Consulting Services) เป็นกิจกรรมการให้คำปรึกษา แนะนำและบริการที่เกี่ยวเนื่องแก่ผู้รับบริการโดยลักษณะและขอบเขตของงานจะเป็นไปตามความต้องการของผู้รับบริการ และมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มคุณค่า และปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานขององค์กร
4. งานประกันคุณภาพ
1. ดำเนินการให้มีการพัฒนาตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (KPIs) ของงานตรวจสอบภายใน และปฏิบัติตามตัวชี้วัดของมหาวิทยาลัย
2. ดำเนินการจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพภายใน ประจำปีของงานตรวจสอบ- ภายใน
3. ประสานงานเตรียมรับการประเมินคุณภาพจากภายนอก
5. งานเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัยทักษิณ
ภารกิจงานประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ มีขอบเขตหน้าที่ด้านติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ภารกิจรายงานผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบ ภารกิจรายงาน ประจำปีของคณะกรรมการตรวจสอบ
6. งานบริหารจัดการ
งานบริหารจัดการของงานตรวจสอบภายใน มีขอบเขตหน้าที่ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนางานตรวจสอบภายใน ภารกิจด้านการจัดการความรู้ภารกิจด้านบริหารงบประมาณ ภารกิจด้านการเงินและบัญชี ภารกิจด้านพัสดุภารกิจด้านบริหารงานบุคคลภารกิจด้านบริหารความเสี่ยงงานตรวจสอบภายใน ภารกิจด้านรายงานการควบคุมภายในงานตรวจสอบภายใน ภารกิจด้านธุรการและสารบรรณ และภารกิจด้านประชาสัมพันธ์